ประเพณียี่เป็ง หรือประเพณีลอยกระทงของทางภาคเหนือ จะเป็นอย่างไร น่าตื่นตาตื่นใจแค่ไหน สล็อตxo44 จะพาทุกท่านไปดูพร้อมกัน
รู้จักยี่เป็ง กับ สล็อตxo44
ใกล้จะถึงวันลอยกระทงแล้ว วันนี้ สล็อตxo44 เว็บสล็อตแตกง่าย จะพาไปรู้จักกับประเพณีเดือนยี่ หรือประเพณีลอยกระทงแบบล้านนานั่นเอง โดยคำว่า ยี่ แปลว่า สอง ส่วน เป็ง แปลว่าเพ็ญ หรือคืนพระจันทร์เต็มดวงนั่นเอง ซึ่งก็หมายถึงประเพณีในวันเพ็ญเดือนสองของชาวล้านนา ซึ่งตรงกับเดือนสิบสองของไทย โดยประเพณียี่เป็งจะมีการจัดกิจกรรมที่น่าสนุกสนานไม่แพ้กับประเพณีลอยกระทงของภาคอื่น ๆ เลย จะมีประวัติความเป็นมา และมีกิจกรรมอะไรบ้างนั้น เราไปดูพร้อม ๆ กันดีกว่า
ประวัติความเป็นมาและความเชื่อเกี่ยวกับประเพณียี่เป็ง
ในพงศาวดารโยนก และจามเทวี ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับประเพณียี่เป็งเอาไว้ว่า เมื่อครั้งที่บ้านเมืองได้เกิดภัยร้ายแรงด้วยโรคอหิวาตกโรค ที่แคว้นหริภุญชัย ชาวเมืองล้มตายเป็นจำนวนมาก ทำให้ชาวเมืองที่รอดต้องอพยพไปอยู่เมืองหงสาวดีนานถึง 6 ปี จึงสามารถหวนคืนสู่บ้านเมืองเดิม เมื่อถึงวันที่ต้องจากบ้านเมือง จึงได้ทำพิธีรำลึกถึงญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยการทำกระถางใส่เครื่องสักการบูชา ธูปเทียนลอย แล้วนำไปลอยตามน้ำ เรียกว่า การลอยโขมดหรือลอยไฟ นั่นจึงเป็นที่มาของประเพณียี่เป็งที่มีมาจนถึงทุกวันนี้
การจัดงานประเพณียี่เป็ง
- วันขึ้นสิบสามค่ำ หรือวันดา จะเป็นวันที่ชาวบ้านซื้อของเตรียมไปทำบุญที่วัด
- วันขึ้นสิบสี่ค่ำ จะไปทำบุญกันที่วัด พร้อมกับช่วยกันทำกระทงใหญ่ไว้ที่วัด และนำของกินมาใส่กระทงเพื่อทำทานให้แก่คนยากจน
- วันขึ้นสิบห้าค่ำ จะนำกระทงใหญ่ที่วัด และกระทงเล็กส่วนตัวไปลอยในแม่น้ำ เพื่อบูชารอยพระพุทธบาท
กิจกรรมในวันยี่เป็ง
1.กิจกรรมตกแต่ง
ในช่วงวันยี่เป็งจะมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน และทำประตูป่าด้วยต้นกล้วย ทางมะพร้าว ต้นอ้อย ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ เพื่อเป็นการจำลองเหตุการณ์ที่ชาวเมืองจัดบ้านเมืองเพื่อต้อนรับการเสด็จกลับจากป่าของพระเวสสันดร มีการจุดถ้วยประทีปเพื่อบูชาพระรัตนตรัย และมีการจุดว่าวไฟปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อเป็นการบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั่นเอง
2.การปล่อยว่าว
ว่าว ในภาษาล้านนาหมายถึง เครื่องเล่นชนิดหนึ่งที่ทำด้วยกระดาษ แล้วปล่อยให้ลอยไปตามลมคล้ายกับบอลลูน ตามวัฒนธรรมของชาวล้านนา ในช่วงยี่เป็งจะมีการปล่อยว่าว 2 แบบ คือ
2.1 ว่าวฮม (ว่าวลม) หรือ ว่าวควัน จะเป็นว่าวที่นำกระดาษหลายสีมาทำเป็นถุงรับความร้อนจากควันไฟ ใช้ควันไฟที่มีความร้อนอัดเข้าไปในตัวว่าวเรียกว่า ฮมควัน เพื่อให้พยุงตัวว่าวให้ลอยขึ้นไปในอากาศได้ โดยจะมี 2 ชนิดคือว่าวสี่แจ่ง หรือว่าวทรงสี่เหลี่ยม และ ว่าวมน หรือว่าวทรงมน มักจะผูกสายประทัดติดที่หางว่าวและจุดเมื่อปล่อย นิยมปล่อยกันในช่วงกลางวัน
2.2 ว่าวไฟ ใช้หลักการเดียวกันกับว่าวฮม แต่จะใช้กระดาษน้อยกว่า และอาศัยความร้อนจากลูกไฟที่ผูกติดกับแกนกลาง ทำให้ว่าวลอยขึ้นสู่อากาศ ลูกไฟที่ผูกติดแกนกลางในอดีตนั้น ใช้ขี้หญ้าหล่อเป็นแท่ง แต่ในปัจจุบันนิยมใช้กระดาษชำระชุบขี้ผึ้งเทียน นิยมจุดในตอนกลางคืน ในปัจจุบันจะเรียกว่า “โคมลอย”
3. กิจกรรมโคมยี่เป็ง
ในช่วงก่อนจะถึงวันยี่เป็ง จะมีการประดิษฐ์โคมลักษณะต่าง ๆ เพื่อเตรียมใช้ในการจุดผางประทีปบูชา โดยการแขวนใส่ค้างโคมบูชาตามพระธาตุเจดีย์ แขวนไว้หน้าวิหาร กลางวิหาร หรือในปัจจุบันนิยมแขวนประดับตกแต่งตามอาคารบ้านเรือน มีหลากหลายรูปทรง เช่น โคมรังมดส้ม โคมกระจัง โคมดาว โคมกระบอก โคมหูกระต่าย ฯลฯ
4. กิจกรรมบอกไฟ
ในช่วงยี่เป็ง สล่าบอกไฟ (ดอกไม้ไฟ) จะมีการจัดเตรียมทำบอกไฟชนิดต่าง ๆ เพื่อใช้จุดเป็นพุทธบูชา บูชาพระเกศแก้วจุฬามณี จุดบูชาประกอบพิธีเทศน์มหาชาติหรือตั้งธรรมหลวง และสามารถเป็นเครื่องเล่นของเด็ก ๆ ได้ด้วย บอกไฟที่นิยมจุดกันนั้นได้แก่ บอกไฟข้าวต้ม บอกไฟยิง บอกไฟดอก บอกไฟดาว บอกไฟบอกไฟช้างร้อง บะขี้เบ้า บอกไฟเทียน แต่เด็ก ๆ ก็มักจะชอบเล่นบอกถบ หรือประทัด หรือจุดมะผาบ และสะโปก เพื่อให้เกิดเสียงดัง และมีความปลอดภัยกว่า
5. ล่องสะเปา
ในอดีตชาวล้านนาจะไม่นิยมลอยกระทง แต่จะนิยมล่องสะเปา หรือไหลเรือสำเภา มักจะนิยมทำสะเปากันที่วัด โดยชาวบ้านในท้องที่จะช่วยกันทำสะเปาเป็นรูปเรือลำใหญ่ วางบนแพไม้ไผ่ และนำสะตวง พร้อมด้วยข้าวของต่าง ๆ ทั้งหม้อ ไห เสื้อผ้า เครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ใส่ลงไปในสะเปา ในช่วงหัวค่ำของวันยี่เป็ง จะมีการหามสะเปา พร้อมแห่ด้วยฆ้องกลองจากวัดไปลอยที่แม่น้ำ และทำพิธีเวนทานที่ท่าน้ำก่อนปล่อยสะเปาลอยลงไป ในขณะที่สะเปาลอยไปได้ระยะหนึ่ง จะมีคนยากจนคอยดักรอสะเปากลางแม่น้ำ เพื่อนำเอาของอุปโภคต่าง ๆ กิจกรรมนี้จึงเป็นการบริจาคทานรูปหนึ่งนั่นเอง
ส่วนการลอยกระทงนั้น ได้มีการรับมาจากภาคกลางในช่วงหลัง โดยเจ้าดารารัศมี พระราชชายา เป็นผู้ที่ริเริ่มการลอยกระทงที่เชียงใหม่เป็นคนแรก ใน พ.ศ.2460-2470 โดยจุดเทียนบนกาบมะพร้าวทำเป็นรูปเรือเล็ก หรือรูปหงส์ และใช้ท่อนไม้ปอทำเป็นรูปเรือ แต่ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก ต่อมานายทิม โชตนา นายกเทศมนตรีเมืองเชียงใหม่ ได้สนับสนุนการท่องเที่ยวโดยจัดให้มีการลอยกระทงมากขึ้น ใน พ.ศ.2490 และมีการจัดงานขึ้นที่ประตูท่าแพ และพุทธสถาน หลังจากนั้นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ส่งเสริมการลอยกระทงแบบภาคกลาง ที่จังหวัดเชียงใหม่ขึ้นอย่างจริงจัง และร่วมกับเทศบาลนครเชียงใหม่ โดยมีการประกวดขบวนกระทงเล็ก และขบวนกระทงใหญ่
หากใครที่อยู่ภาคอื่น และรู้สึกเบื่อกับการลอยกระทงแบบเดิม เราขอแนะนำให้ท่านมาลองเที่ยวชมประเพณียี่เป็งของชาวล้านนาดู รับรองว่าคุณจะตื่นตา ตื่นใจแน่นอน แต่หากใครที่ไม่อยากไปเที่ยว หรือไม่ชอบคนพลุกพล่าน เราขอแนะนำให้ท่านมาร่วมสนุกกับ สล็อตxo44 เว็บสล็อตแตกง่าย ยิ่งช่วงเทศกาล ยิ่งมีกิจกรรมเยอะ ไม่อยากเหงาเบื่อในช่วงวันลอยกระทง รีบสมัครเลย สล็อตคลายเหงา